วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

ถั่วเหลือง GMOs



GMOs  มาจาก  Genetically  Modified  Organisms  หมายถึงสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ที่มีการปรับแต่งยีนจนกลายเป็นสิ่งมีชีวิตพันธุ์ใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อนในธรรมชาติ  ยีนคือตัวกำหนดพันธุกรรม  จะดำจะขาว  สูงเตี้ย  อ้วนผอม  มียีนเป็นตัวกำหนด เปรียบเสมือนพิมพ์เขียวของสิ่งมีชีวิต  GMOs คือการตัดต่อยีนเหล่านี้  โดยสลับยีนข้ามพันธุ์กัน  ของพืชกับสัตว์  สัตว์กับสัตว์  หรือพืชกับพืช ก็ได้




            ถั่วเหลือง         เป็นแหล่งโปรตีนสำคัญจากพืชซึ่งราคาถูก  และให้ผลดีต่อสุขภาพกว่าโปรตีนจากสัตว์หลายชนิด    และถั่วเหลืองจะเป็นศัตรูกับไขมันร้ายๆ อันไม่พึงประสงค์ในร่างกายได้ด้วย     ดูอย่างน้ำมันที่มีอยู่ในถั่วเหลืองเขาจัดเป้นกรดไขมันไม่อิ่มตัว  ซึ่งสามารถช่วยลดคอเลสเตอรอลในร่างกายได้  นอกจากนี้ในถั่วเหลืองยังมีเลซิทินเป็นตัวป้องกันไม่ให้ไขมันจับตัวเป็นคราบในหลอดเลือด  เขาบอกว่ามันเป็นเหมือนกับการฟอกสบู่  มือมันๆ นี่  ถ้าได้ฟอกสบู่ไขมันก็จะไม่จับมือ  ลักษณะเดียวกัน  ถ้าหลอดเลือดเกิดมันขึ้น  แต่ถ้ามีเลซิทินในหลอดเลือด  ไขมันก็จะไม่ตกตะกอนไปจับหลอดเลือด

 

          
           ถั่วเหลืองพันธุ์ใหม่  ถั่วเหลือง GMOs

                สภาพอากาศในบ้านเราเหมาะกับการปลูกถั่วเหลืองมาก แต่เราปลูกไม่พอสำหรับบริโภค เนื่องจากรัฐมีนโยบายเปิดให้นำเข้าถั่วเหลือง อีกทั้งอเมริกาเขาอุดหนุนการส่งออกถั่วเหลืองทำให้ราคาถั่วเหลืองที่ปลูกในประเทศต่ำสู้นำเข้าไม่ได้ เกษตรกรไม่นิยมปลูกกัน

บ้านเราปลูกกันเองได้สองแสนตันต่อปี  ไม่มีที่เป็น GMOs เพราะบ้านเรายังห้ามปลูกพืชผักที่เป็น GMOs  ยกเว้นปลูกเพื่อการทดลองเท่านั้น  แน่นอนว่าเท่านี้ย่อมไม่เพียงพอต่อการบริโภค  จึงต้องมีการนำเข้าจากต่างประเทศในปริมาณราวล้านตันกว่าๆ  เกือบทั้งหมดคือ 80 เปอร์เซ็นต์ นำเข้าจากอเมริกาและอเมริกาใต้  โดยครึ่งต่อครึ่งเป็นถั่วเหลือง GMOs คิดตัวเลขโดยประมาณก็คือมีถั่วเหลือง GMOs อยู่ถึงสี่แสนตันต่อปี  คละเคล้าปนเปอยู่กับถั่วเหลืองธรรมดาทั่วไปในตลาด ที่นำเข้านั้นแบ่งออกเป็น 3 เกรด  เกรดเอ  เป็ฯเมล็ดถั่วเหลืองที่นำมาบริโภค  กิจการรายเล็กรายใหญ่ต่างๆ ซื้อไปทำเต้าหู้  ไปทำนมถั่วเหลือง  เกรดบี  คุณภาพต่ำลงมาหน่อย  เป็ฯประเภทที่โรงงานต่างๆ ซื้อเอาไปหมักทำซีอิ๊ว  ทำซอสต่างๆ และกรดซี  คือกากถั่วเหลืองซึ่งเอาไปทำอาหารสัตว์ในฟาร์ม  เลี้ยงไก่  เลี้ยงหมู  เลี้ยงวัว  เลี้ยงปลา  หรือกุ้งกุลาดำ
ดังนั้นไม่ว่าถั่วเหลือง GMOs  จะดีไม่ดีอย่างไร  เราก็อาจจะรับมันเข้าไปในร่างกายได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม  ทางตรงก็ได้จากการบริโภคโดยตรงจากเต้าหู้  น้ำเต้าหู้  ซีอิ๊ว  เต้าเจี้ยว  ซอสถั่วเหลือง  น้ำมันถั่วเหลือง  และทางอ้อมก็จากสัตว์ต่างๆ ที่กินกากถั่วเหลือง  GMOs  เข้าไปเป็นอาหาร   
           วัตถุประสงค์   คือให้ได้พันธุ์พืชใหม่ๆ ที่มีประโยชน์  ไม่ว่าจะเป็นพันธุ์พืชที่มีสารอาหารบางอย่างเพิ่มขึ้นมา  พันธุ์พืชที่ทนต่อแมลงรบกวนทนต่อดินฟ้าอากาศ  เหล่านี้เป็นต้น  ซึ่งก็ได้ผล  เป็นไปตามวัตถุประสงค์
แต่ของพวกนี้เขาว่าเป็นเรื่องของการฝืนธรรมชาติ  และของเหล่านี้ก็ใช้เป็นอาหารที่คนเราต้องรับเข้าไปในร่างกาย  จะเกิดผลข้างเคียงร้ายแรงเพียงใดก็เกิดการหวาดหวั่นกันอยู่  เนื่องจากหลังจากที่  GMOs  เป็นที่แพร่หลาย  ก็ได้มีงานวิจัยศึกษาถึงผลข้างเคียงของมันที่มีต่อผู้บริโภค  หลายต่อหลายชิ้นบ่งชี้ว่ามันเป็นอันตราย


 



                   อันตรายของ  GMOs 
โดยสรุปแล้วอันตรายจากพืชผักตัดต่อยีนมีอยู่ 3 เรื่องใหญ่ๆ

หนึ่ง คือ  เรื่องภูมิแพ้อาหาร  โดยปกติทั่วไปคนเราบางคนมักจะมีภูมิแพ้อาหารที่แตกต่างกันไป  ที่อเมริกามีการสำรวจพบว่า  ประชากรหนึ่งในสี่มีภูมิแพ้อาหารบางอย่าง  เช่น  บางคนแพ้อาหารทะเล  บางคนแพ้ถั่วบางชนิด  รู้กันอยู่ว่าพืชผักตัดต่อพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งไปใส่ในสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง  ฉะนั้นจึงเกิดการถ่ายทอดวารที่เกิดภูมิแพ้ติดมาด้วย
         ยกตัวอย่างถั่วเหลืองนี่แหละ  ที่อเมริกามีบริษัทบริษัทหนึ่งมีโครงการดัดแปลงพันธุกรรมถั่วเหลือง  โดยเอายีนของถั่วบราซิลมาตัดต่อใส่เข้าไปในถั่วเหลือง  เพื่อเพิ่มโปรตีนในถั่วเหลือง  แต่ปรากฏว่าถั่วเหลืองมีสารภูมิแพ้จากถั่วบราซิลติดมาด้วย  หากคนที่แพ้ถั่วบราซิลเกิดมากินถั่วเหลืองพันธุ์นี้โดยไม่รู้  ก็จะเกิดอาการแพ้ขึ้นได้
         กรณีนี้นับว่าโชคดีที่มีการตรวจพบข้อผิดพลาดขึ้นก่อนในช่วงทดลอง  ไม่อย่างนั้นถ้าปล่อยออกไปคงโกลาหล

เรื่องที่สอง คือ  เรื่องของการถ่ายทอดความต้านทานยาปฏิชีวนะเทคนิควิธีในการตัดต่อยีนนั้น  เขาจะต้องมีการกำหนดยีนเครื่องหมาย  หรือ Marker  Gene  เอาไว้  เพื่อจะได้แยกแยะได้ถูกว่าอันไหน GMOs  อันไหนไม่ใช่  GMOs
         ตัวยีนเครื่องหมายที่ใส่เข้าไป  เขาใช้ยีนต้านทานยาปฏิชีวนะ  ตอนจะแยกแยะเขาก็ใช้ยาปฏิชีวนะนี่แหละฉีดพ่นเข้าไป  เมล็ดพันธุ์ตัวไหนตายก็คือว่าไม่มียีนต้านทานยาปฏิชีวนะ  ก็ไม่ใช่  GMOs  ส่วนเมล็ดไหนตรงกันข้ามก็คือใช่
         ทีนี้หากมีคนบริโภคอาหาร GMOs  เหล่านี้เข้าไป  ยีนต้านทานยาปฏิชีวนะนะถูกถ่ายทอดไปสู่แบคทีเรียในกระเพาะอาหาร  มีผลให้แบคทีเรียเหล่านั้นสามารถต้านทานยาปฏิชีวนะเพิ่มขึ้น  แล้วถ้าเกิดว่าแบคทีเรียพวกนั้นเป็นแบคทีเรียที่ก่อโรคในสัตว์และมนุษย์ก็จะปราบมันได้ยากมากขึ้น  เพราะมันต้านทานยาปฏิชีวนะเสียแล้ว

เรื่องที่สาม คือ สารพิษที่เกิดขึ้นในอาหาร  เขาว่าอาหารดัดแปลงพันธุกรรมมีโอกาสที่จะมีระดับสารพิษเพิ่มขึ้นหรือสามารถสร้างสารพิษชนิดใหม่ขึ้นในอาหารได้  มีตัวอย่างปัญหาที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว  บริษัทแห่งปนึ่งในญี่ปุ่นได้ผลิตอาหารเสริมโดยการตัดต่อยีนจากแบคทีเรียเพื่อให้ได้โปรตีนไทรโทเฟน  เมื่อปล่อยออกสู่ตลาดถึงผู้บริโภค  ปรากฏว่ามีผู้บริโภคเกือบ 5,000 รายป่วยด้วยอาการของโรค Eosinophilia  Myalgia  Syndrome  กว่าจะค้นพบสาเหตุก้ฒีคนตายไป 37 ราย  และพิการถาวรเกือบ 1,500 คน  เหล่านี้เป็นผลเสียในระยะสั้น
ผลระยะยาวๆ ใครจะเสี่ยง

แต่ผลในระยะยาวที่ไม่มีใครคาดเดาได้นั้นก็เป็นที่หวั่นแกรงกันอยู่  ถ้าเราเอางานวิจัยชิ้นหนึ่งมาคิดกันดู  ซึ่งเป็นงานวิจัยเกี่ยวกับ  GMOs  ชิ้นดังของ ดร.พุสชตัยที่ทดลองกับหนู  โดยให้หนูกินมันฝรั่ง GMOs เป็นเวลา 110 วัน  ปรากฏว่าเกิดเซลล์ผิดปกติขึ้นในตัวหนูซึ่งอาจกลายพันธุ์เป็นมะเร็ง
ปกติหนูมีช่วงอายุประมาณ 600 วัน  กินมันฝรั่งไป 110 วัน  ก็เป็นหนึ่งในหกของอายุ  เมื่อเทียบกับคนเรา  โดยพันธุกรรมแล้วมีอายุยืนยาวได้ถึง 120 ปี  หนึ่งในหกก็คือ 20 ปี  ดังนั้นผลต่อสุขภาพบางอย่างมันต้องดูกันยาวๆ แล้วระหว่างนี้ใครจะเสี่ยงล่ะ
          สำหรับในกรณีถั่วเหลือง  การดัดแปลงพันธุกรรมเขาพยายามใส่สารโปรตีนกรดแอมิโนจำเป็นให้มันครบส่วน  ซึ่งถั่วเหลืองโดยปกติมันจะพร่องกรดแอมิโน Methipnine




            ปัญหาของถั่วเหลือง  GMOs  ที่พบกันคือ  มันจะมีสารไฟโตเอสโตรเจนสูงกว่าปกติ  บางคนบอกว่ามันสูงมากๆ ไฟโตรเอสโตรเจนตัวนี้  ดังที่กล่าวแล้วว่าโดยปกติมันจะไปสกัดกั้นฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายเรา  ช่วยป้องกันมะเร็งได้แต่ถ้ามันมีปริมาณสูงมากๆ ก็อาจจะกลับกันกลายเป็นตัวกระตุ้นเซลล์มะเร็งเสียเอง
        ฉะนั้นการติดฉลากว่าอาหารตัวไหนเป็น GMOs  จึงน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด  ใครที่เชื่อถือศรัทธาเห็นดีกับอาหาร GMOs  ว่าไม่มีพิษภัย  ก็เลือกซื้อเลือกหามารับประทานกันไป  ส่วนใครยังไม่แน่ใจเห็นว่ายังมีปัญหาอยู่  ก็หลีกเลี่ยงเสียได้   ซึ่งก็เป็นที่น่ายินดีว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างสำนักงานคณะกรมการอาหารและยา  หรือ  อย. นั้น  มีนโยบายที่จะให้ติดฉลาก  GMOs  ออกมาชัดเจนแล้ว

            ขณะที่ทรัพยากรธรรมชาติลดลงอย่างมากทำให้ผลผลิตมีจำกัด ประกอบกับความเสียหายที่เกิดจากเชื้อโรค รวมทั้งปัญหาเรื่องแมลง วัชพืช และศัตรูพืชต่างๆ จึงทำให้มีการนำเทคนิคการดัดแปรสารพันธุกรรมไปใช้ในการเพาะปลูกในเชิงการค้า เพราะมีข้อได้เปรียบหลายอย่างเมื่อ เทียบกับวิธีการปกติ สำหรับกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยนั้น เนื่องจากยังมีข้อสงสัยว่าอาหารที่ได้จากการดัดแปรพันธุกรรมนั้นมีความปลอดภัยต่อการบริโภคจริงหรือไม่ และมีผลกระทบต่อสุขภาพอย่างไร หากแต่ในปัจจุบัน อาหาร GMOsที่มีจำหน่ายอยู่ในท้องตลาดขณะนี้เป็นอาหารที่ผ่านการประเมินความปลอดภัยโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบของแต่ละประเทศ ซึ่งการประเมินความปลอดภัยทางด้านวิทยาศาสตร์ในทุกขั้นตอนการผลิตบนหลักการเดียวกัน คือ การประเมินความปลอดภัยต่อมนุษย์ และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการประเมินอย่างละเอียดรอบคอบ เพื่อให้มั่นใจได้ว่า อาหารที่ได้จากการดัดแปรพันธุกรรมก่อให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์น้อยที่สุด         ทั้งนี้ การประเมินความปลอดภัยนั้นจะให้ความสำคัญเป็นพิเศษในเรื่อง สารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ และการถ่ายทอของยีนที่สอดใส่เข้าไปจากอาหารดัดแปรพันธุกรรมไปสู่พืชปกติอื่นๆ ในธรรมชาติ แต่ยังคงมีผู้วิตกกังวลถึงผลกระทบของอาหาร GMOs ต่อสุขภาพบางประการ ได้แก่ การเกิดโรคติดต่อจากเชื้อไวรัสที่นำมาใช้ในการตัดต่อยีน โรคไม่ติดต่อหรือโรคเรื้อรังบางชนิดที่ได้รับอิทธิพลจาการเปลี่ยนแปลงของยีน รวมไปถึงความสามารถในการต่อต้านสารปฏิชีวนะของร่างกาย จึงทำให้ผู้บริโภคยังคงต้องให้ความสำคัญกับอาหาร GMOs อยู่
         
           ถึงแม้ว่าในปัจจุบัน ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสินค้าของไทย ไม่ได้ห้ามการนำเข้าสินค้าเกษตรหรืออาหารGMOs แต่มีหลายประเทศที่มีกฎ ระเบียบ หรือกำลังพิจารณาออกกฎระเบียบควบคุมการนำเข้าสินค้าชนิดนี้ สำหรับประเทศไทยเรา ก็มีการนำเข้าสินค้าอาหารที่ทำมาจากพืชอาหาร ชนิดที่มักมีการดัดแปรพันธุกรรม เพื่อการเพาะปลูกในเชิงการค้า เช่น ข้าวโพด และถั่วเหลือง อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการนำเข้ามาเพื่อใช้เป็นอาหารปศุสัตว์ นำเข้ามาเป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหาร หรือในลักษณะของอาหารสำเร็จรูป ก็ตาม เพื่อเป็นการเฝ้าระวังการใช้พืช GMOs ในประเทศไทย ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง